บริการอบรมจป เทคนิค

อบรม จป เทคนิค
ตามกฎกระทรวง ปี 2565 รับส่วนลด 50%

หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ เทคนิค ตามกฎหมายใหม่ 2565 พร้อมมอบวุฒิบัตรให้ผู้ผ่านการอบรม

ดาวน์โหลดหลักสูตร Course Outline

67,500 บาท : รุ่น

พร้อมจัดอบรมแบบอินเฮ้าส์ จำนวนผู้เข้าอบรมไม่เกิน 20 คน/รุ่น  เป็นระยะเวลา 30 ชั่วโมง 

มอบวุฒิบัตร

ผู้เข้าอบรมได้รับวุฒิบัติอย่างเป็นทางการสามารถนำไปขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการตามกฎหมาย

ลงทะเบียน อบรม จป บุคคลทั่วไป

สมัครอบรมได้แล้ววันนี้

ธันวาคม 67 – กุมภาพันธ์ 68

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป เทคนิค
16-20 ธ.ค.
จป เทคนิค
27-31 ม.ค.
จป เทคนิค
24-28 ก.พ.
จป ชลบุรี

พฤศจิกายน 67 – กุมภาพันธ์ 68 

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป เทคนิค
25-29 พ.ย.
จป เทคนิค
20-24 ม.ค.
จป เทคนิค
17-21 ก.พ.

ราคา จป เทคนิค  : 7,300 บาท/ท่าน (ห้าง ทียู โดม ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต)

พิเศษ ชลบุรี !! ลด 30%

ราคา จป เทคนิค : 5,900 บาท/ท่าน

* เนื่องจากมีผู้สมัครอบรมออนไลน์เป็นจำนวนมากทำให้แต่ละรุ่นที่นั่งเต็มอย่างรวดเร็ว ศูนย์ฝึกอบรมขอสงวนสิทธิ์ที่นั่งสำหรับลูกค้าที่ชำระเงิน และ ยืนยันลงทะเบียนในระบบก่อน

** อบรม จป นำยื่นกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้

หลักสูตร จป.เทคนิค เรียนอะไรบ้าง

เราจัดอบรมเนื้อหาตาม กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดหลักสูตรการฝึกอบรม จป.เทคนิค มีเนื้อหาทั้งหมด 6 หมวดวิชา รวมเป็นระยะเวลาอบรมทั้งหมดไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง จัดอบรม 5 วัน

เกี่ยวกับ ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยฯ ในการทำงาน และบทบาทหน้ที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับ เทคนิคโดยจะใช้เวลาอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบไปด้วยเนื้อหา

  • (ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • (ข) หลักการบริหารจัดการความปลอดภัยในการทำงาน
  • (ค) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค

เกี่ยวกับ กฎหมายความปลอดภัยฯในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ โดยจะใช้เวลาอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบไปด้วยเนื้อหา

  • (ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระทรวงแรงงาน
  • (ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ
  • (ค) การตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เกี่ยวกับ การประเมินอันตรายจาการทำงาน โดยจะใช้เวลาอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบไปด้วยเนื้อหา

  • (ก) เทคนิคการชี้บ่งอันตราย
  • (ข) การประเมินความเสี่ยง
  • (ค) การจัดทําแผนการดําเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงและควบคุมอันตราย

เกี่ยวกับ การตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยจากการทํางาน และการปรับปรุงสภาพการทํางาน โดยจะใช้เวลาอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบไปด้วยเนื้อหา

  • (ก) การตรวจความปลอดภัย
  • (ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
  • (ค) การจัดทําคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
  • (ง) การสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทํางาน 
  • (จ) การปรับปรุงสภาพการทํางาน
  • (ฉ) การรวบรวมสถิติ การจัดทํารายงานด้านความปลอดภัยในการทํางาน และเสนอแนะต่อนายจ้าง

เกี่ยวกับ การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทํางาน โดยจะใช้เวลาอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบไปด้วยเนื้อหา

  • (ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร
  • (ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า
  • (ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ
  • (ง)  การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
  • (จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทํางาน
  • (ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี
  • (ช) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ 
  • (ซ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง 
  • (ณ) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

เกี่ยวกับ การฝึกปฏิบัติ โดยจะใช้เวลาอบรม 9 ชั่วโมง ประกอบไปด้วยเนื้อหา

  • (ก) การฝึกปฏิบัติการตรวจความปลอดภัยตามข้อกําหนดของกฎหมาย
  • (ข) การฝึกปฏิบัติการชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดทําแผน การดําเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงและควบคุมอันตราย
  • (ค) การฝึกปฏิบัติการจัดทําคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางานของหน่วยงาน
  • (ง)  การฝึกปฏิบัติการสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย
  • (จ) การฝึกปฏิบัติการปรับปรุงสภาพการทํางาน
  • (ฉ) การฝึกปฏิบัติการจัดทํารายงานด้านความปลอดภัยในการทํางาน

หลักสูตร

อบรม จป เทคนิค

กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 

5/5

รวมเคล็ดลับการเป็น

จป เทคนิค มืออาชีพ

ทุกเรื่องเกี่ยวกับ จป เทคนิค

หลักสูตรอินเฮ้าส์แนะนำ

เลือกอบรมจป คปอ ที่คุณสนใจเราพร้อมเดินทางจัดอบรมให้คุณถึงที่

หลักสูตร จป หัวหน้างาน

จป.หัวหน้างาน

คอร์สอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน

จป.บริหาร

คอร์สอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร

คอร์สอบรม จปเทคนิค in house

จป.เทคนิค

คอร์สอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิค

หลักสูตรคปอ in house

คปอ.

คอร์สอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ในการทำงาน

จป.เทคนิค คือใคร

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค (จป.เทคนิค) คือ พนักงานที่นายจ้างได้แต่งตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานโดยเน้นไปที่ด้านเทคนิค และปฏิบัติงานในส่วนของความปลอดภัย

 

แต่ไม่ใช่ว่าใครจะเป็น จป.เทคนิคก็ได้ ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรจป.เทคนิค   เพื่อที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

คลิกภาพเพื่อขยาย

สถานประกอบการใดบ้างต้องมี จปเทคนิค

กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565

 

ได้กำหนดไว้ว่า นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 50 คน ต้องจัดให้ลูกจ้างอย่างน้อย 1 คน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค

 

เพื่อปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานประกอบกิจการ ภายใน 180 วันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบ 20 คน

คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็น จป.เทคนิค จะต้องมีอะไรบ้าง

ได้ถูกกำหนดไว้ในข้อ 15 ของกฎกระทรวง พ.ศ 2565 ว่าผู้ปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับ เทคนิคจะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

 

  • ผ่านการฝึกอบรม จป เทคนิค หรือ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
  • เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน ในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
  • มีคุณสมบัติตามข้อ 18 หรือข้อ 21 แล้วแต่กรณี ซึ่งในส่วนของข้อ 18 ได้พูดถึงคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง และข้อ 21 ได้พูดถึงคุณสมบัติของ จป.วิชาชีพ เอาไว้และนายจ้างต้องมีการแต่งตั้งพร้อมทั้งแจ้งชื่อเพื่อขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงจะถือว่าเป็นจป.เทคนิคที่ถูกต้องตามกฎหมาย

จป.เทคนิค อบรม ทำไม

การควบคุมและจัดการความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ไม่เพียงแค่เป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อความปลอดภัยของพนักงาน แต่ยังเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ และการดำรงอยู่ขององค์กรอีกด้วย ในกระบวนการควบคุมความเสี่ยง และเพิ่มความปลอดภัยที่เหมาะสม การอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิค (จป.เทคนิค) เป็นหนึ่งในวิธีที่มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติหน้าที่สามารถทำงานได้จริง

รวมรวบสถิติอุบัติเหตุ
รวมรวบสถิติอุบัติเหตุ

จป.เทคนิค มีหน้าที่อะไรบ้าง

นอกจากคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง จป.เทคนิค ยังมีหน้าที่เพิ่มเติมที่ถูกกำหนดไว้ดังนี้

มีหน้าที่ตรวจสอบและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้นายจ้างปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมาย

มีหน้าที่วิเคราะห์งานเพื่อการชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัย โดยเสนอต่อนายจ้าง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างปลอดภัยตามที่กำหนด

มีหน้าที่แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ เพื่อให้ลูกจ้างมีความรู้และปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น หรือเกิดอาการเจ็บป่วย เนื่องมาจากการทำงาน จปเทคนิคต้องรายงานผลการตรวจสอบ พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุให้ครั้งต่อไป

มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการเกิดอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และจัดทำรายงานเพื่อเสนอต่อนายจ้าง เพื่อการปรับปรุงและการวางแผนการป้องกันในอนาคต

นอกเหนือจากหน้าที่ที่กำหนดไว้ข้างต้น จป.เทคนิคยังมีหน้าที่ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่นายจ้างมอบหมายตามที่จำเป็นต้องการ

ภาพบรรยายกาศอบรมจริง

ภาพจัดอบรม จป เทคนิค ปี 2567

ข้อมูลที่มีประโยชน์

บัญชีท้ายกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565

บัญชี 1

  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  2. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  5. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ

บัญชี 2

  1. อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
  4. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
  5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  6. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
  7. อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  8. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
  9. อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
  10. อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
  11. อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  12. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
  13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
  14. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
  15. อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
  16. อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  17. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  18. อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
  19. อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
  20. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
  21. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
  22. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
  23. อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
  24. อุตสาหกรรมของเล่น
  25. อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
  26. อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
  27. อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
  28. อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
  29. อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
  30. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
  31. สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
  32. คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
  33. การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  34. อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
  35. อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  36. การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  37. อุตสาหกรรมการขนส่ง
  38. การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
  39. กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
  40. กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
  41. การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  42. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  43. กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  44. ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
  45. ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
  46. โรงพยาบาล
  47. การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
  48. การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
  49. สวนสัตว์หรือสวนสนุก

บัญชี 3

  1. ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  2. ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  3. สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  4. การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
  5. โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
  6. โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
  7. สวนพฤกษศาสตร์
  8. สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
  9. สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
  10. สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

  1. – เป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างานของหน่วยงาน
  2. – ได้รับการยินยอมจากนายจ้างให้เข้ารับการอบรม
  3. – มีหนังสือแต่งตั้ง หรือ หนังสือรับรองตำแหน่ง หัวหน้างาน

 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร

  1. – เป็นลูกจ้างระดับบริหารของหน่วยงาน
  2. – ได้รับการยินยอมจากนายจ้างให้เข้ารับการอบรม
  3. – มีหนังสือแต่งตั้ง หรือ หนังสือรับรองตำแหน่ง หัวหน้างาน

 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค

  1. – สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
  2. – เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานและผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
  3. – เป็น หรือ เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐานตามประกาศกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง พ.ศ. 2540

 

คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน

  1. – เป็นคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงาน
  2. – ได้รับการยินยอมจากนายจ้างให้เข้ารับการอบรม

จำนวนผู้เขาอบรมจป เทคนิคไม่เกิน 60 คนต่อ 1 รุ่น

ในการจัดอบรมเราจะจัด 3 วัน โดบรวมกันแล้วทั้งหมด 30 ชั่วโมงตามกฎหมายกำหนด

โปรโมชั่นอบรม จป คปอ ลด 50%

เรียนรู้การปฏิบัติงานตริงของคปอ. และจป. ระดับหัวหน้างาน บริหาร พร้อมมอบวุฒิบัตรหลังจบการอบรม ลงทะเบียนจองวันนี้ลดทันที 50%

ติดต่อ

บริษัท เซฟตี้ เมมเบอร์ จํากัด

เลขที่: 349 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ ชั้น 23 ถนน วิภาวดี รังสิต, แขวง จอมพล, เขต จตุจักร, กรุงเทพฯ 10900

T. (064) 958 7451

เพิ่มเพื่อน

Copyright @2024   จป.com Developed website and SEO by iPLANDIT