มาตรการป้องกันอันตราย หรือ การควบคุมความเสี่ยง เป็นแนวทางสำคัญที่องค์กรควรดำเนินการ เพื่อขจัดหรือลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยตามมาตรฐานแล้วจะมีลำดับขั้นตอนในการควบคุมความเสี่ยง ถึง 5 ระดับ โดนจะเริ่มจากระดับที่ 1 หากยังไม่สามารถป้องกันอันตรายได้ จะไปต่อที่ลำดับต่อไป จนถึงลำดับที่ 5 ซึ่งเราสามารถใช้มาตรการควบคุมได้มากกว่า 1 มาตรา เพื่อป้องกันอันตรายให้ได้มากที่สุด
5 ลำดับมาตรการป้องกันอันตราย
มาตราการที่ 1 การขจัดอันตราย
การขจัดอันตรายเป็นมาตรการแรกที่ควรพิจารณา เนื่องจากสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้อย่างถาวร เช่น
- ใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนมนุษย์ใ นบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง
- ทำการแยกเส้นทางคนเดิน ออกจากเส้นทางยานพาหนะ
หากสามารถขจัดอันตรายได้ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นก็จะหมดไปโดยสมบูรณ์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการอื่นเพิ่มเติม
มาตราการที่ 2 การทดแทนด้วยสิ่งที่มีอันตรายน้อยกว่า
หากการขจัดอันตรายไม่สามารถดำเนินการได้ การทดแทนเป็นวิธีถัดมาที่ควรพิจารณา โดยมาตราที่ 2 นี้ เป็นมาตรการที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อ การสัมผัสอันตราย ทําให้มีโอกาสได้รับอันตรายจากการทํางานน้อยลง เช่น
- เปลี่ยนมาใช้สารเคมีที่มีความปลอดภัยมากขึ้น แทนสารเคมีที่อันตราย
- เปลี่ยนงานที่ต้องทำบนที่สูง ให้เป็นงานที่สามารถดำเนินการในระดับพื้นดินได้
มาตรการนี้ช่วยลดโอกาสที่ผู้ปฏิบัติงาน จะได้รับอันตรายจากการสัมผัสกับสิ่งที่เป็นอันตราย
มาตราการที่ 3 การควบคุมทางวิศวกรรม
การควบคุมทางวิศวกรรมเป็นวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของสถานที่ทำงาน เช่น
- ติดตั้งการ์ดป้องกันบนเครื่องจักร
- ติดตั้งระบบระบายอากาศในพื้นที่ที่มีสารเคมีระเหย
- ป้องกันการตกจากที่สูงด้วยราวกันตก หรือระบบนิรภัย
วิธีการนี้เน้นที่การปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน
มาตราการที่ 4 การควบคุมเชิงบริหารจัดการ
หากมาตรการทางวิศวกรรมยังไม่เพียงพอ ควรดำเนินการควบคุมเชิงบริหารจัดการ เช่น
- ให้ข้อมูลความรู้วิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง และการฝึกอบรมแก่พนักงานก่อนเริ่มทำงาน โดยเฉพาะในส่วนงานอันตราย อย่าง สารเคมี ขับรถยก ที่อับอากาศ เป็นต้น
- ตรวจสอบอุปกรณ์ความปลอดภัย อย่างสม่ำเสมอ
- เฝ้าระวังสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน เช่น ผู้ที่สัมผัสเสียงดัง หรือสารเคมี
มาตรการนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยผ่านการจัดการและสร้างความตระหนักให้ผู้ปฏิบัติงาน
มาตราการที่ 5 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE)
PPE เป็นมาตรการสุดท้ายที่ควรใช้ ในกรณีที่มาตรการอื่นไม่สามารถลดความเสี่ยงได้เพียงพอ เช่น
- ใช้หน้ากากกันฝุ่น ในบริเวณที่มีฝุ่นละออง
- สวมชุดป้องกันความร้อน เมื่อต้องทำงานเกี่ยวกับไฟ หรือประกายไฟ
- ใช้ครอบหูหรือที่อุดหูเพื่อลดเสียง
อย่างไรก็ตาม ” การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลไม่ควรเป็นมาตรการหลัก ” เพราะเป็นเพียงการลดความรุนแรงของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และมักพบปัญหาในด้านความไม่สะดวกสบายของผู้ใช้ เช่น ความร้อน อึดอัด หรือขนาดที่ไม่พอดี
ตัวอย่างการใช้มาตรการร่วมกัน
ในสถานการณ์ที่ต้องใช้มาตรการหลายลำดับร่วมกัน ตัวอย่างเช่น:
- กรณีผู้ปฏิบัติงานสัมผัสกับสายไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้ม
- ใช้มาตรการทางวิศวกรรม เช่น การหุ้มฉนวนและการติดตั้งระบบตัดกระแสไฟฟ้า
- ใช้ PPE เช่น ถุงมือและรองเท้าป้องกันไฟฟ้า
- กรณีเครื่องเลื่อยวงเดือน
- ใช้มาตรการทางวิศวกรรม เช่น การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน
- ใช้มาตรการเชิงบริหาร เช่น การฝึกอบรมการใช้งานอย่างปลอดภัย
ในงานดูแลความปลอดภัยภายในโรงงาน มักมีตำแหน่งที่ทำหน้าที่นี้ คือ จป หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ที่จะคอยดูแลความปลอดภัยทั้งเรื่องตรวจสอบกระบวนการทำงาน สถานที่ อุปกรณ์ รวมถึงใบอนุญาตต่างๆที่ต้องมีก่อนเริ่มปฏิบัติงาน
แต่ในส่วน จป เองก็ต้องมีความรู้ ในด้านความปลอดภัยก่อนที่จะปฏิบัติงานได้จริง ซึ่งจะแบ่งออกเป็นหลักสูตรต่างๆ ตามตำแหน่งงานที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็น จป หัวหน้างาน จป บริหาร และ จป เทคนิค (ตำแหน่งที่สามารถทำงานได้โดยผ่านการอบรม)
- สมัครอบรม จป ราคาเริ่มต้นเพียง 2000 บาท / ท่าน ในกรณีต่อการจัดอบรมแบบ อินเฮ้าส์ เรามีราคาพิเศษสำหรับคุณ
- ติดต่อสอบถาม : [email protected]
สรุป
การดำเนินการควบคุมอันตรายควรเริ่มจากมาตรการที่สามารถขจัดความเสี่ยงได้ดีที่สุด (การขจัดอันตราย) หากไม่สามารถทำได้ ควรใช้มาตรการอื่นตามลำดับ ได้แก่ การทดแทน การควบคุมทางวิศวกรรม การควบคุมเชิงบริหาร และสุดท้ายคือการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการปกป้องที่มีประสิทธิภาพและลดโอกาสเกิดอันตรายจากการทำงานอย่างสูงสุด