PPE : PPE : Personal Protective Equipment อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเหมาะกับใครบ้าง
หลายครั้งที่เรามักจะพบว่าการทำงานนั้นไม่มีความปลอดภัยสาเหตุอาจจะมาจากบริเวณหรือพื้นที่การทำงานยังไม่ได้ขจัดสิ่งที่เป็นอันตรายออกไปและบางเคสก็ไม่สามารถที่จะจัดการกับปัญหาเหล่านั้นได้เนื่องจากหากเราต้องแก้ไขความไม่ปลอดภัยอาจจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากหรืออาจจะต้องใช้เวลาในการแก้ไขค่อนข้างเยอะ
สิ่งเหล่านี้ทำให้นายจ้างมักจะไม่เลือกวิธีการแก้ไขที่จะต้องใช้เงินลงทุนหรือเสียเวลาในการแก้ไขสิ่งที่เป็นอันตรายในสถานที่ทำงานเลยหาวิธีการที่รวดเร็วและประหยัดนั่นก็คือการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเข้ามาช่วยในการป้องกันอันตรายให้พนักงานสามารถทำงานได้ อย่างปลอดภัยมากขึ้น
การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยสามารถทำได้โดยง่ายและประหยัด เช่นหากบริเวณพื้นที่การทำงานนั้นมีเสียงดังก็ให้พนักงานหาอุปกรณ์ลดเสียงเช่นเอียปลั๊กลดเสียง Ear Plugs กับ ที่ครอบหู Ear Muffs เพื่อป้องกันเสียงดังและลดปริมาณความเข้มข้นของเสียงที่อาจจะทำให้ก่อให้เกิดอันตรายต่อการได้ยินได้
กรณีที่การทำงานกับความร้อนและประกายไฟเช่นงานตัดงานเจียร์ก็ให้พนักงานทำการสวมใส่ถุงมือกันสะเก็ดไฟหรือใส่แว่นตาเพื่อป้องกันสะเก็ดไฟไม่ให้เข้ามาบริเวณดวงตาหรือใบหน้าเพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยลดอุบัติเหตุจากการทำงานได้อย่างรวดเร็วและประหยัดสิ่งเหล่านี้ จึงมักเป็นที่นิยมนำมาใช้ป้องกันอันตรายจากการทำงาน
การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลนั้นโดยหลักแล้วจะเป็นวิธีการสุดท้ายในหลักการของความปลอดภัยในการทำงานเนื่องจากมักจะเกิดความผิดพลาดจากตัวบุคคลได้โดยง่ายเช่นพนักงานไม่ยอมสนใจเผลอเลอก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ทันที
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล PPE มีอะไรบ้าง
- หมวกนิรภัย
- รองเท้านิรภัย
- เข็มขัดกันตก
- อุปกรณ์เซฟตี้ป้องกันศีรษะ
- อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection)
- เเว่นนิรภัย (Eye protection)
- ถุงมือนิรภัย (Hand Protection)
- เข็มขัดนิรภัย (Safety Harness)
- เสื้อสะท้อนแสง
- กระบังป้องกันใบหน้า (Face shield)
- อุปกรณ์ป้องกันการหายใจ (Respiratory protection equipment)
การดูแลอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล PPE ควรทำอย่างไร
ก่อนทำงานจะต้องตรวจสอบอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ดีเสียก่อนว่าอุปกรณ์ดังกล่าวนั้นมีสภาพความพร้อมสามารถป้องกันอันตรายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพไม่มีการชำรุดหรือแตกหักเราควรทำการตรวจสอบให้แน่ใจเป็นประจำความถี่ในการตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลควรทานเป็นประจำทุกวันก่อนเริ่มทำงานและควรมีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันเชื้อโรคและแบคทีเรีย
มาตรฐานอุปกรณ์ PPE มีอะไรบ้าง
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่นำมาใช้ในสถานประกอบกิจการตามกฏหมายแล้วจะต้องได้รับการยอมรับหรือมาตรฐานสากลเช่นมาตรฐานมอกอเป็นต้นนายจ้างจะต้องจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานเพื่อให้สามารถป้องกันภัยต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพการนำอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานเข้ามาใช้งานอาจทำให้พนักงานเกิดก็ปฏิเสธได้เพราะอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลไม่ได้มาตรฐานจะไม่สามารถป้องกันอันตรายหรือไม่ได้มีการผ่านการทดสอบความแข็งแรงทนทาน เราจึงควรตรวจสอบให้ดีเกี่ยวกับมาตรฐานของอุปกรณ์แต่ละชนิดว่าเป็นไปตามที่มาตรฐานและข้อกฎหมายกำหนดหรือไม่เพื่อความปลอดภัยของพนักงานเอง
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม – สัญลักษณ์คือ มอก. หรือ TIS
- มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization) – สัญลักษณ์ ISO
- มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards) – สัญลักษณ์คือ EN หรือ CE
- มาตรฐานประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards) – สัญลักษณ์คือ AS/NZS
- มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute) – สัญลักษณ์คือ ANSI
- มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards) – สัญลักษณ์คือ JIS
- มาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทํางานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health) – สัญลักษณ์คือ NIOSH
- มาตรฐานสํานักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติ กรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration) – สัญลักษณ์คือ OSHA
- มาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association) – สัญลักษณ์คือ NFPA